ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ร่วมกับ องค์การยูเนสโก สำนักงานเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จัดกิจกรรม “Hack Culture: กระเทาะเปลือกวัฒนธรรม: การแก้ปัญหาด้วยสื่อดิจิทัล เพื่อเสริมศักยภาพสตรีและรักษาหัตถกรรมท้องถิ่น” (Hack Culture: Digital Solutions to Empower Women & Safeguard Traditional Crafts) จัดอบรมและการแข่งขันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในรูปแบบแฮ็คคาธอน (Hackathon) ให้กับกลุ่มสตรีชาติพันธุ์ม้ง หวังใช้เทคโนโลยีช่วยบันทึกและสืบทอดมรดกภูมิปัญญาด้านหัตกรรมท้องถิ่น สร้างโอกาสทางการตลาด นำทีมให้ความรู้โดยอาสาสมัครจากซัมซุงจากสำนักงานใหญ่กว่า 30 ชีวิต ผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโก กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจหัตถกรรมท้องถิ่น และคณาจารย์จากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ่อหลวงเมธาพันธ์ ภุชกฤษฎาภา ผู้ใหญ่บ้านดอยปุย กล่าวว่า “รายได้หลักของกลุ่มแม่บ้านชาวม้งก็คืองานหัตถกรรมฝีมือ ปัญหาที่หมู่บ้านดอยปุยกำลังเผชิญอยู่คือ ทักษะงานหัตถกรรมเหล่านั้นถูกถ่ายทอดโดยปากเปล่าและการจดจำ นับวันคนรุ่นใหม่สนใจงานหัตถกรรมน้อยลงเรื่อยๆ หลายคนไปเรียนต่อในเมืองแล้วไม่ได้กลับมาทำงานที่หมู่บ้านอีก โจทย์ที่ต้องแก้ไขคือจะเก็บมรดกวัฒนธรรมเหล่านี้ที่มีอายุกว่า 100 ปีไว้ได้อย่างไร ทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่รู้จักและเข้าใจเอกลักษณ์ทางหัตถกรรมของชาวม้ง นอกจากนี้ข้อจำกัดอีกข้อก็คือ รายได้จากการขายสินค้าขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวที่ขึ้นมาบนดอยเป็นหลัก ดังนั้นโจทย์ก็คือชาวบ้านจะขายสินค้าโดยไม่พึ่งนักท่องเที่ยวเพียงช่องทางเดียวได้อย่างไร การที่ซัมซุงจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยแก้ปัญหาที่หมู่บ้านดอยปุยกำลังเผชิญอยู่ ถือว่า เป็นโครงการที่ดี”
นางสาวจีเฮียน ยูน ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด (ประเทศเกาหลี) เผยว่า “การเสริมพลังให้กับคนในสังคมผ่านการมอบความรู้ นวัตกรรม และสร้างสรรค์ผลงาน เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของซัมซุงทั่วโลก โดยซัมซุงได้มุ่งส่งเสริมการศึกษาให้สตรีและคนรุ่นใหม่มาตั้งแต่ปี 2553 กิจกรรม “Hack Culture: กระเทาะเปลือกวัฒนธรรม: การแก้ปัญหาด้วยสื่อดิจิทัล เพื่อเสริมศักยภาพสตรีและรักษาหัตถกรรมท้องถิ่น” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Samsung OneWeek ซึ่งเป็นโครงการที่ซัมซุงนำพนักงานอาสาสมัครที่มีความเชี่ยว ชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มามอบความรู้แก่ชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยในปีนี้พนักงานชาวเกาหลีร่วม 200 คน ได้กระจายตัวไปทำกิจกรรมอาสาสมัครเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ใน 6 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ กัมพูชา คาซัคสถาน อินโดนีเซีย ไทย เนปาล และฮังการี ซึ่งกิจกรรมในแต่ละประเทศจะมีลักษณะแตกต่างกัน ตามความต้องการและบริบทของแต่ละประเทศ”
“สำหรับในประเทศไทย ซัมซุงได้ร่วมมือกับยูเนสโก โดยนำอาสาพนักงานซัมซุงกว่า 30 คนมาร่วมจัดงานแฮ็คคาธอนเพื่ออบรมให้ความรู้การใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับหัตถกรรมท้องถิ่นให้กับสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยปลดล็อคข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีของพวกเธอแล้ว ซัมซุงยังหวังว่า ทักษะดิจิทัลจะเป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้ และเป็นเครื่องมือในการส่งผ่านภูมิปัญญาหัตถกรรมจากรุ่นผู้เฒ่าผู้แก่ ไปสู่เจเนอเรชั่นใหม่ รุ่นต่อรุ่น”นางสาวจีเฮียน ยูน กล่าวเสริม
ดร.ซุง บี แฮน์ หัวหน้าแผนกวัฒนธรรม องค์การยูเนสโก กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “สตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งสามารถสร้างสรรค์และผลิตสินค้าหัตถกรรม โดยใช้วิธีสืบทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นมาแต่อดีต แต่ปัจจุบัน สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการลงสำรวจพื้นที่ของยูเนสโกพบว่า จังหวัดเชียงใหม่เกิดความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียว กับส่วนอื่นๆ ทั่วโลก ความอยู่รอดของทักษะงานฝีมือกำลังเสี่ยงที่จะสูญหายไปจากปัจจัยรอบด้านมากมาย เช่น การแข่งขันจากผู้ผลิ ตที่ใช้เครื่องจักรในการผลิตสินค้าที่ถูกและรวดเร็วกว่า รวมถึงคนรุ่นใหม่ในชนเผ่าที่ไม่มีความสนใจในการทำงานหัตถกรรม จึงเป็นที่มาของโครงการความร่วมมือระหว่างซัมซุงและยูเนสโก ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว”
ตลอดระยะเวลา 4 วันของการดำเนินกิจกรรมแฮ็คคาธอน บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน เต็มไปด้วยพลังแห่งความมุ่งมั่นของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เหล่าอาสาฯ ได้ช่วยสตรีชนเผ่าม้ง พัฒนาต้นแบบสื่อดิจิทัล (Prototype) ในการแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญหาและขยายโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าหัตถกรรม โดยแบ่งกลุ่มการทำกิจกรรมเป็น 5 กลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ เวปไซต์และเฟสบุ๊คที่รวบรวมข้อมูลและประวัติความเป็นมาของงานหัตกรรม วิดิโอและคอร์สสอนการปักผ้าเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจและนักท่องเที่ยว รวมทั้งการทำแบรนดิ้งและบรรจุภัณฑ์สินค้าให้น่าสนใจและทันสมัย โดยต้นแบบผลงานที่แต่ละกลุ่มได้พัฒนาขึ้นสามารถนำมาขยายผลต่อให้กับคนในชุมชนหมู่บ้านดอยปุย ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นราว 1,408 คน ประกอบด้วย 3 ชนเผ่า ได้แก่ ม้ง ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) และคนพื้นเมือง
นางสาวลิม คาง ฮา หนึ่งในพนักงานอาสามัครซัมซุง ได้กล่าวถึงความรู้สึกจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ว่า “ตลอดเวลา 4 วันที่ได้ร่วมทำกิจกรรมกับพี่น้องสตรีชาวม้งเป็นช่วงเวลาที่ประทับใจและได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก ถึงแม้เราจะเป็นอาสาที่มาให้ความรู้และช่วยพวกเขาพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อช่วยแก้ไ ขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่เราก็ได้เรียนรู้จากพวกเขาเช่นเดียวกัน สิ่งที่สำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแข่งขันหรือสิ่งที่คิดค้นขึ้น แต่มันคือความรู้สึกว่าเราได้เป็นผู้ให้ ได้ทำสิ่งที่มีค่าให้กับคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการมัน ซึ่งความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูก และประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนมุมมองในการดำเนินชีวิตของฉันอย่างที่ไม่ได้คาดคิดไว้มาก่อน”
นางสาวศศิพัชร์ เฟื่องฟูกิจการ หนึ่งในสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่เข้ารับการอบรมและหนึ่งในสมาชิกทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน กล่าวว่า “สนุกและได้ประโยชน์มากจากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ค่ะ นอกจากความรู้ที่ได้แล้วยังรู้สึกผูกพันธ์กับพี่ๆ อาสาซัมซุงที่มาจัดกิจกรรมให้ รู้สึกขอบคุณและประทับใจมาก จะนำความรู้ที่ไ ด้จากการอบรมในครั้งนี้ไปเป็นเครื่องมือในการโปรโมทสินค้าของทั้งร้านตัวเองและของหมู่บ้าน โดยจะใช้เฟสบุ๊คขึ้นมาเป็นช่องทางหลัก ตื่นเต้นมากกับโปรเจคใหม่ที่จะได้ทำ และดีใจที่หมู่บ้านดอยปุยจะมีช่องทางในการบันทึกงานหัตถกรรมฝีมือซึ่งเป็นวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาวม้ง ขอบคุณซัมซุงและยูเนสโกที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาค่ะ”